คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

คลังความรู้สำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เหตุสุดวิสัย

“เหตุสุดวิสัย” หมายความว่า “เหตุใด ๆ อันจะเกิดขึ้นก็ดี เป็นเหตุอันไม่อาจป้องกันได้ แม้ทั้งบุคคลผู้ต้องประสบ หรือใกล้จะต้องประสบเหตุนั้น จะได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้ จากบุคคลในฐานะ และภาวะเช่นนั้น”

คนฝรั่งเรียกเหตุสุดวิสัยว่า Act of God หรือ << การกระทำของพระเจ้า >> ชัดเจนเลยครับว่า การกระทำของพระเจ้าย่อมไม่อาจป้องกันไว้ล่วงหน้าก่อนได้

ดังนั้น เหตุสุดวิสัย หรือ Act of God จึงมีลักษณะเป็นเหตุที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น >> น้ำท่วม, ฝนตก, แผ่นดินไหว, ฟ้าผ่า, ฟ้าร้อง เป็นต้น

เหตุสุดวิสัย กับ การนำไปปรับใช้
เหตุสุดวิสัย ปรากฏอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หลายมาตรา ยกตัวอย่างเช่น

มาตรา 437 วางหลักว่า “บุคคลผู้ครอบครอง หรือควบคุมยานพาหนะ ... จะต้องรับผิดชอบ เพื่อการเสียหายอันเกิดขึ้นจากยานพาหนะนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้น เกิดแต่เหตุสุดวิสัย”

ตัวอย่างเช่น นายเอกกำลังขับรถขนส่งผู้โดยสาร โชคร้าย ฟ้าผ่ามาบริเวณรถที่นายเอกขับ ทำให้รถเกิดระเบิดขึ้น คนในรถได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก โดยหลักแล้ว นายเอกผู้ควบคุมรถมีหน้าที่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน นายเอกจะหลุดพ้นในกรณีที่ นายเอกกล่าวอ้างว่าความเสียหายนั้นเกิดขึ้นเพราะเหตุสุดวิสัย
Point

กฎหมายบางเรื่องกำหนดว่า แม้ว่าจะเป็นเรื่องเหตุสุดวิสัยก็ตาม ก็ยังมีความรับผิดอยู่ดี ยกตัวอย่างในเรื่องของ เอกเทศสัญญาว่าด้วยยืม

สัญญายืมใช้คงรูป เป็นสัญญาที่บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้ยืม ให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ยืม ใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้โดยเปล่า ไม่ต้องชำระหนี้ตอบแทน และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินนั้นเมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว

กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้ยืมไม่โอนไปยังผู้ยืม ดังนั้น กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้ยืมยังคงเป็นของผู้ให้ยืมอยู่ แต่ผู้ยืมมีเพียงสิทธิครอบครองในทรัพย์ที่ยืมเท่านั้น

มาตรา 643 วางหลักว่า “ถ้าผู้ยืมเอาทรัพย์สินที่ยืมไปใช้นอกเหนือจากการปกติ หรือเอาไปให้บุคคลภายนอกใช้ ท่านว่า ผู้ยืมจะต้องรับผิดในกรณีที่เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินนั้น แม้ว่าจะเป็นเหตุสุดวิสัยก็ตาม

ตัวอย่างเช่น นายเอกให้นายโทยืมรถยนต์ไปใช้ แต่นายโทกลับนำออกให้นายตรีเช่า นายตรีขับรถตกเหว รถพังเสียหาย นายโทต้องรับผิดต่อนายเอกหรือไม่

สังเกตให้ดีว่า นายเอกให้นายโทยืมทรัพย์ เกิดสัญญา เกิดความผูกพัน เป็นบุคคลสิทธิระหว่างนายเอกกับนายโทแล้ว เมื่อนายโท กระทำฝ่าฝืนกฎหมายมาตรา 643 นายโท (ผู้ยืม) จะต้องรับผิดในกรณีที่เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินนั้น แม้ว่าจะเป็นเหตุสุดวิสัยก็ตาม

ไม่มีความคิดเห็น: