*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup
โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปีกำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533
tutorlawgroup fanpage
คลังความรู้สำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์
-
▼
2009
(73)
-
▼
กรกฎาคม
(10)
- อำนาจอธิปไตย
- การทำแท้งเสรีในมุมมองของกรรณิการ์ เรืองศักดิ์ (ราช...
- คำพิพากษาฎีกาเป็นที่มาของกฎหมายหรือไม่ (น.ส.กชพรรณ...
- คุณธรรมและจริยธรรมของนักกฎหมาย
- ข้อสอบเกี่ยวกับกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่น่าสนใจ...
- ที่มาและหลักการของสิทธิมนุษยชน .. บทความดี ๆ จาก n...
- เรียงความ การจดทะเบียนสมรสของเพศที่สาม (ธีรนาถ มีเ...
- เรียงความ การจดทะเบียนสมรสโดยถูกต้องตามกฏหมายของเพ...
- กฎหมายกับความยุติธรรม สิ่งใดสำคัญกว่ากัน (นายธนบัต...
- การจดทะเบียนสมรสโดยถูกต้องตามกฎหมายของเพศที่สาม (น...
-
▼
กรกฎาคม
(10)
วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
ที่มาและหลักการของสิทธิมนุษยชน .. บทความดี ๆ จาก naksit.org
ที่มาและหลักการสิทธิมนุษยชน
เนื่องจากแนวคิดสิทธิมนุษยชนมาจากของตะวันตก ถ้ามองในแง่ฐานความคิด แนวคิดที่เชื่อว่ามนุษย์มีสิทธิโดยธรรมชาติ มีสิทธิที่ติดมาโดยกำเนิด ซึ่งผูกพันกับระบบความคิดเชิงอภิปรัชญาของต่างชาติที่พยายามอธิบายเรื่องธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ มีบางสิ่งบางอย่างที่เป็นแก่นแท้ ความมีเหตุผล มโนธรรม ตรงนี้ก็นำไปสู่การอธิบายเรื่องคุณค่าความเป็นมนุษย์ หรือที่เรียกว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นำไปสู่แนวคิดการมีอำนาจเหนือ ชีวิต ร่างกาย ซึ่งก็คือคำอธิบายเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน หรือที่แรกเริ่มใช้คำว่า "สิทธิโดยธรรมชาติของมนุษย์"
แนวคิดนี้เกิดมาจากวัฒนธรรมตะวันตก ซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมไทยไม่ค่อยเข้าใจว่าเป็นสิทธิของธรรมชาติอะไรกัน เพราะเราติดอยู่ในความคิดที่ว่าสิทธิมีโดยกฎหมาย เป็นแนวคิดแบบปฏิฐานนิยมมองอะไรเฉพาะสิ่งที่เห็นได้ จับต้องได้ เชื่อเฉพาะสิ่งที่ปรากฏต่อสายตา อะไรที่เป็นเรื่องนามธรรม เรื่องจิตนิยมจะไม่ยอมเชื่อ ซึ่งเมื่อคิดแบบนี้แล้วก็มองไม่เห็นถึงการมีอยู่ของความเป็นของมนุษย์ หรือสิทธิมนุษยชน นี่คือจุดเริ่มต้นของปัญหา ประเด็นของความคิดมาจากวัฒนธรรมตะวันตกเพิ่งปรากฏเมื่อ 200-300 ปีที่ผ่านมานี้เองไม่ได้มีมาตั้งแต่หลายพันปีที่แล้วซึ่งเป็นผลจากการต่อสู้ทางความคิดในเรื่องของความขัดแย้งทางชนชั้น เรื่องของการเติบโตของชนชั้นกลาง เรื่องของการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้เกิดกลุ่มพลังชนชั้นกลาง กลุ่มพลังทางเศรษฐกิจที่เคลื่อนไหวเรียกร้องอำนาจในสังคม แบ่งอำนาจกับกลุ่มกษัตริย์ กลุ่มเจ้า ยืนหยัดในอำนาจความชอบธรรมของตัวเองว่า "ผมมีอำนาจเท่ากับคุณนะ" เพราะฉะนั้น ประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนจึงกลายเป็นอาวุธในการต่อสู้เพื่อที่จะเรียกร้องความเท่าเทียมเชิงอำนาจกับพวกกลุ่มเจ้า กลุ่มกษัตริย์ หรือแม้กระทั่งพระ นักบวช ซึ่งสมัยก่อนสังคมตะวันตกพวกพระ นักบวชก็มีอิทธิพลทางการเมืองมาก เหล่านี้เป็นบริบทของต่างประเทศที่ทำให้เกิดแนวคิดของสิทธิมนุษยชนขึ้นมา
เนื่องจากแนวคิดสิทธิมนุษยชนมาจากของตะวันตก ถ้ามองในแง่ฐานความคิด แนวคิดที่เชื่อว่ามนุษย์มีสิทธิโดยธรรมชาติ มีสิทธิที่ติดมาโดยกำเนิด ซึ่งผูกพันกับระบบความคิดเชิงอภิปรัชญาของต่างชาติที่พยายามอธิบายเรื่องธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ มีบางสิ่งบางอย่างที่เป็นแก่นแท้ ความมีเหตุผล มโนธรรม ตรงนี้ก็นำไปสู่การอธิบายเรื่องคุณค่าความเป็นมนุษย์ หรือที่เรียกว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นำไปสู่แนวคิดการมีอำนาจเหนือ ชีวิต ร่างกาย ซึ่งก็คือคำอธิบายเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน หรือที่แรกเริ่มใช้คำว่า "สิทธิโดยธรรมชาติของมนุษย์"
แนวคิดนี้เกิดมาจากวัฒนธรรมตะวันตก ซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมไทยไม่ค่อยเข้าใจว่าเป็นสิทธิของธรรมชาติอะไรกัน เพราะเราติดอยู่ในความคิดที่ว่าสิทธิมีโดยกฎหมาย เป็นแนวคิดแบบปฏิฐานนิยมมองอะไรเฉพาะสิ่งที่เห็นได้ จับต้องได้ เชื่อเฉพาะสิ่งที่ปรากฏต่อสายตา อะไรที่เป็นเรื่องนามธรรม เรื่องจิตนิยมจะไม่ยอมเชื่อ ซึ่งเมื่อคิดแบบนี้แล้วก็มองไม่เห็นถึงการมีอยู่ของความเป็นของมนุษย์ หรือสิทธิมนุษยชน นี่คือจุดเริ่มต้นของปัญหา ประเด็นของความคิดมาจากวัฒนธรรมตะวันตกเพิ่งปรากฏเมื่อ 200-300 ปีที่ผ่านมานี้เองไม่ได้มีมาตั้งแต่หลายพันปีที่แล้วซึ่งเป็นผลจากการต่อสู้ทางความคิดในเรื่องของความขัดแย้งทางชนชั้น เรื่องของการเติบโตของชนชั้นกลาง เรื่องของการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้เกิดกลุ่มพลังชนชั้นกลาง กลุ่มพลังทางเศรษฐกิจที่เคลื่อนไหวเรียกร้องอำนาจในสังคม แบ่งอำนาจกับกลุ่มกษัตริย์ กลุ่มเจ้า ยืนหยัดในอำนาจความชอบธรรมของตัวเองว่า "ผมมีอำนาจเท่ากับคุณนะ" เพราะฉะนั้น ประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนจึงกลายเป็นอาวุธในการต่อสู้เพื่อที่จะเรียกร้องความเท่าเทียมเชิงอำนาจกับพวกกลุ่มเจ้า กลุ่มกษัตริย์ หรือแม้กระทั่งพระ นักบวช ซึ่งสมัยก่อนสังคมตะวันตกพวกพระ นักบวชก็มีอิทธิพลทางการเมืองมาก เหล่านี้เป็นบริบทของต่างประเทศที่ทำให้เกิดแนวคิดของสิทธิมนุษยชนขึ้นมา
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น