*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup
โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปีกำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533
tutorlawgroup fanpage
วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2552
การเลิกสัญญา (ตอนที่ 2)
วิธีในการเลิกสัญญา
การเลิกสัญญา อาจจะกระทำได้ 3 วิธีดังต่อไปนี้
1.คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงเลิกสัญญา
หากว่าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายเห็นตรงกันว่าสัญญาที่กระทำขึ้นไม่ควรจะดำรงอยู่ต่อไป คู่สัญญาอาจตกลงเลิกสัญญาเพื่อระงับนิติสัมพันธ์ระหว่างคู่สัญญา
2.คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขอเลิกสัญญา โดยอีกฝ่ายเห็นพ้องด้วย
คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเห็นว่าไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามนิติสัมพันธ์ที่มีอยู่นั้นได้ลุล่วงได้ คู่สัญญาฝ่ายนั้นอาจทำคำเสนอขอเลิกสัญญา และหากอีกฝ่ายเห็นควรตามคำเสนอนั้น อาจจะทำคำสนองตอบรับคำเสนอนั้น
3.คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขอเลิกสัญญา โดยอีกฝ่ายไม่เห็นพ้องด้วย
การที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ต้องการผูกพันตามสัญญาที่ได้ทำไว้ โดยอีกฝ่ายไม่เห็นพ้องด้วยจะต้องปรากฏว่า
3.1.คู่สัญญาฝ่ายที่จะขอเลิกสัญญาต้องมีสิทธิในการบอกเลิกสัญญา และ
3.2.คู่สัญญาได้ใช้สิทธินั้นเพื่อบอกเลิกสัญญา
จากข้อ 3.2. นั้น สิทธิในการบอกเลิกสัญญา มีที่มาจาก 2 ประการดังต่อไปนี้
1.สัญญาได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า หากมีคู่สัญญาฝ่ายใดผิดสัญญา หรือไม่ปฏิบัติตามสัญญา คู่สัญญาอีกฝ่ายย่อมมีสิทธิที่จะเลิกสัญญาได้ อาจกล่าวได้ว่า เป็นสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยข้อสัญญา
2.สิทธิบอกเลิกสัญญาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เช่นในเรื่องสัญญาเช่าซื้อ หากผู้เช่าซื้อไม่ชำระค่างวดเป็นจำนวนสองงวดติดต่อกัน ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ เป็นต้น
การเลิกสัญญา อาจจะกระทำได้ 3 วิธีดังต่อไปนี้
1.คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงเลิกสัญญา
หากว่าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายเห็นตรงกันว่าสัญญาที่กระทำขึ้นไม่ควรจะดำรงอยู่ต่อไป คู่สัญญาอาจตกลงเลิกสัญญาเพื่อระงับนิติสัมพันธ์ระหว่างคู่สัญญา
2.คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขอเลิกสัญญา โดยอีกฝ่ายเห็นพ้องด้วย
คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเห็นว่าไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามนิติสัมพันธ์ที่มีอยู่นั้นได้ลุล่วงได้ คู่สัญญาฝ่ายนั้นอาจทำคำเสนอขอเลิกสัญญา และหากอีกฝ่ายเห็นควรตามคำเสนอนั้น อาจจะทำคำสนองตอบรับคำเสนอนั้น
3.คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขอเลิกสัญญา โดยอีกฝ่ายไม่เห็นพ้องด้วย
การที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ต้องการผูกพันตามสัญญาที่ได้ทำไว้ โดยอีกฝ่ายไม่เห็นพ้องด้วยจะต้องปรากฏว่า
3.1.คู่สัญญาฝ่ายที่จะขอเลิกสัญญาต้องมีสิทธิในการบอกเลิกสัญญา และ
3.2.คู่สัญญาได้ใช้สิทธินั้นเพื่อบอกเลิกสัญญา
จากข้อ 3.2. นั้น สิทธิในการบอกเลิกสัญญา มีที่มาจาก 2 ประการดังต่อไปนี้
1.สัญญาได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า หากมีคู่สัญญาฝ่ายใดผิดสัญญา หรือไม่ปฏิบัติตามสัญญา คู่สัญญาอีกฝ่ายย่อมมีสิทธิที่จะเลิกสัญญาได้ อาจกล่าวได้ว่า เป็นสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยข้อสัญญา
2.สิทธิบอกเลิกสัญญาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เช่นในเรื่องสัญญาเช่าซื้อ หากผู้เช่าซื้อไม่ชำระค่างวดเป็นจำนวนสองงวดติดต่อกัน ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ เป็นต้น
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น