คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

มัดจำ เบี้ยปรับ

หากผู้อ่านเคยเช่าพักอยู่ในอาคาร หรือตามหอพัก ท่านคงเคยวางมัดจำไว้ต่ออาคาร หรือหอพักที่ท่านอาศัยอยู่ นอกจากมัดจำแล้ว ในสัญญาอาจมีการกำหนดเบี้ยปรับด้วย ซึ่งหากมองในมุมของกฎหมายแล้ว สัญญาเช่าอาคารเป็นสัญญาหลัก หรือเรียกอีกอย่างว่า สัญญาประธาน และสัญญามัดจำ หรือเบี้ยปรับ เป็นสัญญารอง หรือเรียกอีกอย่างว่า สัญญาอุปกรณ์ และเมื่อสัญญาอุปกรณ์ เป็นสัญญาที่เกิดขึ้นมาประกอบ สัญญาประธาน ดังนั้น เมื่อสัญญาประธานระงับลง สัญญาอุปกรณ์ย่อมระงับลงไปด้วย


มัดจำ

หลักกฎหมาย

“เมื่อเข้าทำสัญญา ถ้าได้ให้สิ่งใดไว้เป็นมัดจำ ท่านให้ถือว่า การที่ให้มัดจำนั้นย่อมเป็นพยานหลักฐานว่า สัญญานั้นได้ทำกันขึ้นแล้ว อนึ่งมัดจำนี้ย่อมเป็นประกันการที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นด้วย”

จากหลักกฎหมายข้างต้นสามารถตั้งข้อสังเกตได้ดังนี้

1.มัดจำ คือ เงินหรือสังหาริมทรัพย์มีค่าอย่างอื่นซึ่งคู่สัญญาได้ส่งมอบให้แก่กันเมื่อเข้าทำสัญญา

2.วัตถุประสงค์ในการวางมัดจำ
•เพื่อเป็นหลักฐานในการทำสัญญา หมายความว่า เป็นหลักฐานเบื้องต้นประการหนึ่งว่าได้มีสัญญาแล้ว
•เป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา

3.ต้องเป็นสิ่งที่คู่สัญญา “ส่งมอบ” ให้ไว้แก่กันเมื่อเข้าทำสัญญา “การส่งมอบมัดจำในขณะที่ทำสัญญา” ถือเป็นสาระสำคัญของมัดจำ
4.สิ่งที่ส่งมอบให้เป็นมัดจำต้องเป็นสังหาริมทรัพย์เท่านั้น


ผลของการวางมัดจำ


หลักกฎหมาย

"มัดจำนั้น ถ้ามิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้เป็นไปดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ คือ

(1)ให้ส่งคืน หรือจัดเอาเป็นการใช้เงินบางส่วนในเมื่อชำระหนี้

(2)ให้ริบ ถ้าฝ่ายที่วางมัดจำละเลยไม่ชำระหนี้ หรือการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งฝ่ายนั้นต้องรับผิดชอบ หรือถ้ามีการเลิกสัญญาเพราะความผิดของฝ่ายนั้น

(3)ให้ส่งคืน ถ้าฝ่ายที่รับมัดจำละเลยไม่ชำระหนี้หรือการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งฝ่ายนี้ต้องรับผิดชอบ"

จากหลักกฎหมายข้างต้นสามารถตั้งข้อสังเกตโดยอธิบายผ่านตัวอย่างได้ดังนี้

นายเอกได้ติดต่อขอเช่าหอพักแสนสุขเป็นเวลาหนึ่งเดือน ๆ ละหนึ่งหมื่นบาท โดยวางเงินไว้เป็นมัดจำไว้ขณะทำสัญญาเช่าจำนวนห้าพันบาท หากว่า

1.หากนายเอกชำระค่าเช่าตามสัญญา นายเอกมีสิทธิดังนั้น


•ให้เจ้าของหอพักแสนสุขคืนเงินมัดจำ หรือ

•ให้เจ้าของหอพักแสนสุขจัดเป็นการชำระหนี้บางส่วนได้ ดังนั้น นายเอกต้องชำระเงินเพิ่มอีกเพียงห้าพันบาทเท่านั้น


2.หากนายเอกไม่ชำระค่าเช่าตามสัญญา เจ้าของหอมีสิทธิริบเงินมัดจำนั้นได้

-------------------------------------------------------------------------------------

เบี้ยปรับ
การกำหนดเบี้ยปรับ เป็นการกำหนดค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนไว้ล่วงหน้า สำหรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เมื่อมีการไม่ชำระหนี้ หรือเมื่อมีการชำระหนี้แต่ไม่ถูกต้องสมควร


ตัวอย่าง

นายเอกได้ติดต่อขอเช่าหอพักแสนสุขเป็นเวลาหนึ่งเดือน ๆ ละหนึ่งหมื่นบาท โดยวางเงินไว้เป็นมัดจำไว้ขณะทำสัญญาเช่าจำนวนห้าพันบาท อีกทั้งหอพักยังได้กำหนดเบี้ยปรับไว้ห้าพันบาทด้วย หากว่านายเอกมาชำระเงินค่าเช่า แต่เมื่อมาตรวจห้องที่ให้แล้วพบว่ามีร่องรอยความเสียหายเกิดขึ้น หอพักแสนสุขมีสิทธิเรียกเบี้ยปรับได้


เบี้ยปรับมีหน้าที่ 2 ประการดังต่อไปนี้

1.เบี้ยปรับเป็นการให้ความแน่นอนไว้ล่วงหน้าก่อนว่าจะมีการจ่ายเงินจำนวนหนึ่ง เป็นการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายเพราะการไม่ปฏิบัติตามสัญญา
2.ทำให้เกิดความมั่นใจและความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างคู่กรณี ว่าคู่สัญญาจะปฏิบัติข้อตกลงที่ให้ไว้ต่อกัน


ข้อสังเกตในเรื่องเบี้ยปรับ

1.เบี้ยปรับเป็นสัญญาอุปกรณ์เช่นเดียวกับมัดจำ โดยเบี้ยปรับเป็นสิ่งที่คู่สัญญาตกลงกันไว้ในสัญญา หรือเป็นสัญญาข้อหนึ่งที่ระบุให้คู่สัญญาฝ่ายที่ไม่ชำระหนี้ หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามสมควร ต้องรับภาระชดใช้ค่าเสียหาย หรือค่าสินไหมทดแทน ในความเสียหายที่เกิดขึ้นตามจำนวนที่กำหนด
2.เมื่อเบี้ยปรับ เป็นค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้า เบี้ยปรับจึงไม่จำต้องการส่งมอบให้แก่กันในขณะทำสัญญา
3.หากคู่สัญญากำหนดเบี้ยปรับไว้สูงเกิน ศาลมีอำนาจใช้ดุลยพินิจปรับลดเบี้ยปรับนั้นลงตามสมควร

ไม่มีความคิดเห็น: