ขอบเขตการใช้กฎหมายอาญา:หลักดินแดน
หลัก ผู้ใดกระทำความผิดในราชอาณาจักร ต้องรับโทษตามกฎหมาย
เช่นนายเอกยิงนายโทที่พาหุรัด นายเอกกระทำความผิดในราชอาณาจักร นายเอกจึงต้องรับโทษตามกฎหมาย
--------------------------------------------------------------------------
กรณีให้ถือว่ากระทำในราชอาณาจักร
1.การกระทำความผิดในเรือไทยหรืออากาศยานไทยขณะที่อยู่นอกราชอาณาจักร ให้ถือว่ากระทำในราชอาณาจักร
เช่นนายเอกยิงนายโทบนสายการบินไทยขณะที่อยู่เหนือน่านฟ้าเวียดนาม(สังเกตว่าอยู่นอกราชอาณาจักร) แต่ นายเอกจึงต้องรับโทษตามกฎหมายไทย เพราะ การกระทำความผิดบนอากาศยานไทยหรือเรือไทย กฎหมายให้ถือว่าผู้นั้นได้กระทำความผิดในราชอาณาจักร
2.ความผิดใดที่การกระทำแม้แต่ส่วนหนึ่งส่วนใดได้กระทำในราชอาณาจักร
เช่นนายเอก(คนไทย)ยิงนายโท(คนลาว) ขณะที่นายเอกอยู่จังหวัดหนองคาย ส่วนนายโทอยู่เวียงจันทร์เช่นนี้การกระทำของนายเอกส่วนหนึ่งได้เกิดในราชอาณาจักรไทย กฎหมายให้ถือว่าผู้นั้นได้กระทำความผิดในราชอาณาจักร ดังนั้นนายเอกจึงต้องรับโทษตามกฎหมายไทย
3.ผลแห่งการกระทำเกิดในราชอาณาจักรโดยผู้กระทำประสงค์ให้ผลนั้นเกิดในราชอาณาจักร
เช่นนายเอก(คนลาว) ยิงนายโท(คนไทย) ขณะที่นายเอกอยู่เวียงจันทร์ ส่วนนายโทอยู่จังหวัดหนองคาย เช่นนี้ผลของการกระทำของนายเอกได้เกิดในราชอาณาจักรไทย คือนายโทตาย กฎหมายให้ถือว่าผู้นั้นได้กระทำความผิดในราชอาณาจักร ดังนั้นนายเอกจึงต้องรับโทษตามกฎหมายไทย
4.ในกรณีการตระเตรียมการ หรือพยายามกระทำการใด ซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด แม้การกระทำนั้นจะได้กระทำนอกราชอาณาจักรถ้าหากการกระทำนั้นจะได้กระทำตลอดไปจนถึงขั้นความผิดสำเร็จ ผลจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักร ให้ถือว่าการตระเตรียมการหรือพยายามกระทำความผิดนั้นได้กระทำในราชอาณาจักร
เช่นนายเอก(คนลาว) ยิงนายโท(คนไทย) ขณะที่นายเอกอยู่เวียงจันทร์ ส่วนนายโทอยู่จังหวัดหนองคาย แต่นายโทหลบทัน (ดังนั้นเป็นกรณี พยายามกระทำความผิด) เช่นนี้ถ้าเกิดเป็นผลสำเร็จคือนายโทหลบไม่ทัน แล้วตาย เห็นได้ว่าผลของการกระทำจะเกิดในราชอาณาจักรไทย กฎหมายให้ถือว่าการพยายามกระทำความผิดนั้นได้กระทำลงในราชอาณาจักร ดังนั้นนายเอกจึงต้องรับโทษตามกฎหมายไทย (นั่นก็คือพยายามฆ่า)
5. ความผิดใดที่ได้กระทำในราชอาณาจักร หรือที่ประมวลกฎหมายนี้ถือว่าได้กระทำในราชอาณาจักร แม้การกระทำของผู้เป็นตัวการด้วยกัน ของผู้สนับสนุนหรือของผู้ใช้ให้กระทำความผิดนั้นจะได้กระทำนอกราชอาณาจักร ก็ให้ถือว่าตัวการ ผู้สนับสนุนหรือผู้ใช้ให้กระทำได้กระทำในราชอาณาจักร
เช่นนายสอง(คนลาว) ได้ว่าจ้างให้ นายเอก(คนลาว) ยิงนายโท(คนไทย) ที่จังหวัดหนองคาย เช่นนี้แม้การใช้ให้กระทำความผิดเกิดขึ้นที่นอกราชอาณาจักร แต่ความผิดที่เกิดจากการใช้ได้กระทำลงในราชอาณาจักร ดังนั้น กฎหมายให้ถือว่าการใช้ให้กระทำความผิดเกิดในราชอาณาจักร ดังนั้นนายสองจึงต้องรับโทษตามกฎหมายไทย
ขอบคุณมากๆนะคะ เป็นประโยชน์มากเลยค่ะ รู้สึกว่าอ่านแล้วเข้าใจง่ายดีค่ะ
ตอบลบ