วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ขอบเขตการใช้กฎหมายอาญา: หลักบุคคล

ขอบเขตการใช้กฎหมายอาญา: หลักบุคคล

ผู้ใดกระทำความผิดนอกราชอาณาจักร และความผิดนั้นเป็นความผิดดังระบุไว้ต่อไปนี้ จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร คือ
-ความผิดเกี่ยวกับเพศ
-ความผิดต่อชีวิต
-ความผิดต่อร่างกาย
-ความผิดฐานทอดทิ้งเด็กคนป่วยเจ็บหรือคนชรา
-ความผิดต่อเสรีภาพ
-ความผิดฐานลักทรัพย์ และวิ่งราวทรัพย์
-ความผิดฐานกรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ และปล้นทรัพย์
-ความผิดฐานฉ้อโกง
-ความผิดฐานยักยอก
-ความผิดฐานรับของโจร
-ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์

หลักบุคคลมี 2 กรณีดังนี้
(ก) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ

เช่นนายเอกคนไทยไปเรียนต่อที่ลาว นายเอกไม่พอใจที่นายดำมาแย่งแฟนของตน นายเอกจึงยิงนายดำตาย เช่นนี้เป็นกรณีที่ความผิดเกิดขึ้นนอกราชอาณาจักรโดยแท้ แต่นายเอกผู้กระทำความผิดเป็นคนไทย หากรัฐบาลประเทศลาวร้องขอให้ลงโทษเช่นนี้ นายเอกก็ต้องรับโทษตามกฎหมายไทย

(ข) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ

เช่นนายเอกคนไทยไปเรียนต่อที่ลาว นายดำไม่พอใจที่นายเอกมาแย่งแฟนของตน นายดำจึงยิงนายเอกตาย เช่นนี้เป็นกรณีที่ความผิดเกิดขึ้นนอกราชอาณาจักรโดยแท้ แต่นายดำผู้กระทำความผิดเป็นคนต่างด้าว หากรัฐบาลประเทศไทยร้องขอให้ลงโทษเช่นนี้ นายดำก็ต้องรับโทษตามกฎหมายไทย

1 ความคิดเห็น: