ทรัพย์ฉพาะสิ่ง ตอนที่ 2
ทรัพย์ฉพาะสิ่ง เป็นพื้นฐานสำคัญของวิชากฎหมายหนี้
นิติกรรมสัญญา และ ทรัพย์
คราวนี้ลองมาดูข้อเท็จจริงที่ 1 ป้าแม้นขายผลไม้ติดป้ายไว้ที่กองฝรั่งว่า
“ฝรั่งลูกละ 10 บาท”
หากว่านายเอกเดินบริเวณตลาดเพื่อมาเลือกซื้อฝรั่ง
เห็นฝรั่งป้าแม้นน่ากิน จึงบอกไปที่ป้าว่าเอาฝรั่ง 5 ลูก
ป้าแม้นจึงหยิบเลือกฝรั่งให้นายเอก ขณะที่ป้าแม้นกำลังเลือกฝรั่ง
ฟ้าผ่าลงมาตรงกองผลไม้รวมทั้งกองฝรั่งด้วย ผลไม้เสียหายทั้งหมด
คำถามมีอยู่ว่า ป้าแม้นเรียกร้องเอาเงินค่าฝรั่งจากนายเอกจำนวน
50 บาท ถามว่านายเอกต้องใช้ค่าฝรั่งแก่ป้าแม้นหรือไม่
แนวคำตอบ ... การที่ป้าแม้นจึงหยิบเลือกฝรั่งให้นายเอก
ขณะที่ป้าแม้นกำลังเลือกฝรั่ง แสดงว่าฝรั่งยังไม่เป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งจนกว่าจะมีการคัดเลือกก็กระทำเพื่อให้เป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งแล้ว
เมื่อกรรมสิทธิ์ยังไม่โอน กรรมสิทธิ์ในตัวฝรั่งจึงเป็นของป้าแม้น เมื่อฟ้าผ่าลงมาตรงกองผลไม้รวมทั้งกองฝรั่งด้วย
ผลไม้เสียหายทั้งหมด ป้าแม้นเจ้าของกรรมสิทธิ์จึงต้องซวยไปตามระเบียบ
ถามว่านายเอกต้องชำระเงินหรือไม่ คำตอบนี้ง่ายมาก เพราะ
ถ้ากรรมสิทธิ์ในตัวฝรั่งไม่โอนมายังนายเอก นายเอกจะชำระราคาทำไม ดังนั้น
นายเอกจึงไม่ต้องชำระราคา
คราวนี้ลองมาดูข้อเท็จจริงที่ 2 ป้าแม้นขายผลไม้ติดป้ายไว้ที่กองฝรั่งว่า
“ฝรั่งลูกละ 10 บาท”
หากว่านายเอกเดินบริเวณตลาดเพื่อมาเลือกซื้อฝรั่ง
เห็นฝรั่งป้าแม้นน่ากิน จึงบอกไปที่ป้าว่าเอาฝรั่ง 5 ลูก
ป้าแม้นจึงหยิบเลือกฝรั่งให้นายเอกจนครบ 5 ลูกแล้ว นายเอกกำลังหยิบเงินให้ป้าแม้น
โดยยังไม่ได้รับฝรั่งไว้ในความครอบครอง ฟ้าผ่าลงมาตรงกองผลไม้รวมทั้งกองฝรั่งด้วย
ผลไม้เสียหายทั้งหมด
คำถามมีอยู่ว่า ป้าแม้นเรียกร้องเอาเงินค่าฝรั่งจากนายเอกจำนวน
50 บาท ถามว่านายเอกต้องใช้ค่าฝรั่งแก่ป้าแม้นหรือไม่
แนวคำตอบ ... การที่ป้าแม้นเลือกฝรั่งให้นายเอกจนครบแล้ว
ฝรั่งจึงเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งแล้ว ดังนั้น กรรมสิทธิ์ในตัวฝรั่งโอนมายังนายเอกแล้ว
เมื่อฟ้าผ่าลงมาตรงกองผลไม้รวมทั้งกองฝรั่งด้วย ผลไม้เสียหายทั้งหมด นายเอกเจ้าของกรรมสิทธิ์จึงต้องซวยไปตามระเบียบ
ถามว่านายเอกต้องชำระเงินหรือไม่ คำตอบนี้ง่ายมากเช่นกัน เพราะ
ถ้ากรรมสิทธิ์ในตัวฝรั่งโอนมายังนายเอก นายเอกจะเบี้ยวไม่ชำระราคาได้อย่างไร
ดังนั้น นายเอกจึงต้องชำระราคาฝรั่งแก่ป้าแม้นด้วย
คราวนี้ลองมาดูข้อเท็จจริงที่ 3 ป้าแม้นขายผลไม้ติดป้ายไว้ที่กองฝรั่งว่า “ฝรั่งขายถูก
ๆ กิโลละ 10 บาท” หากว่านายเอกเดินบริเวณตลาดเพื่อมาเลือกซื้อฝรั่ง
เห็นฝรั่งป้าแม้นน่ากิน จึงบอกไปที่ป้าว่าเอาฝรั่ง 5 ลูก
ป้าแม้นจึงหยิบเลือกฝรั่งให้นายเอกจนครบ 5 ลูกแล้ว นายเอกกำลังหยิบเงินให้ป้าแม้น
โดยยังไม่ได้รับฝรั่งไว้ในความครอบครอง ฟ้าผ่าลงมาตรงกองผลไม้รวมทั้งกองฝรั่งด้วย
ผลไม้เสียหายทั้งหมด
คำถามมีอยู่ว่า ป้าแม้นเรียกร้องเอาเงินค่าฝรั่งจากนายเอก
ถามว่านายเอกต้องใช้ค่าฝรั่งแก่ป้าแม้นหรือไม่
แนวคำตอบ ... กรณีที่ 3
แตกต่างจากกรณีที่ 2 นะครับ
ดูข้อเท็จจริงดีๆนะครับ กรณีที่ 2 โจทย์เขียนว่า “ฝรั่งลูกละ 10 บาท” ดังนั้น ถ้าหยิบมา 5 ลูก
รู้เลยว่านายเอกต้องชำระราคา 50 บาท แต่ในกรณีที่ 3 “ฝรั่งขายถูก ๆ กิโลละ 10 บาท” แม้ว่าหยิบมา 5 ลูก
นายเอกก็ยังไม่รู้เลยว่าต้องชำระราคาเท่าไร เพราะยังไม่ได้นำไปชั่งกิโลเลย จึงยังไม่ทราบน้ำหนัก
กฎหมายซื้อขายจึงกำหนดไว้ว่า ในการซื้อขายทรัพย์สินเฉพาะสิ่ง ถ้าผู้ขายยังจะต้องชั่ง
ตวง วัด เพื่อให้รู้กำหนดราคาทรัพย์สินนั้นแน่นอน ท่านว่ากรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อจนกว่าชั่ง
ตวง วัด แล้ว ดังนั้น กรณีที่ 3 จึงแตกต่างไปว่า เมื่อคัดฝรั่งออกมาแล้ว 5
ลูกยังต้องไปชั่งกิโลเพื่อทราบราคาก่อน กรรมสิทธิ์จึงจะโอนไปยังผู้ซื้อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น