หลักสำคัญของกฎหมายอาญาปรากฎอยู่ในสุภาษิตละตินโบราณว่า
Nullum crimen nulla poena sine lege
หรือแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า
"No crime, no punishment without a previous penal law"
หรืออาจแปลเป็นภาษาไทยได้ดังนี้
---------------------------------
ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้
---------------------------------
ปรากฎอยู่ในกฎหมายไทยมาตรา มาตรา 2 ประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งวางหลักไว้ว่า
“บุคคลจักต้องรับโทษทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้นต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ”
เมื่อบุคคลใดได้กระทำการอย่างใดลง และในขณะนั้น การกระทำนั้นไม่ถือเป็นความผิดอาญา ย่อมไม่อาจจะบัญญัติย้อนหลังไปได้ว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด
หลักดังกล่าวนี้เป็นหลักสภาพบังคับทางอาญาที่สำคัญซึ่งอาจจะถือได้ว่า เป็นหัวใจของกฎหมายอาญา หลักนี้ได้กล่าวถึงลักษณะสำคัญของกฎหมายอาญาไว้ 4ประการคือ
1.กฎหมายอาญาต้องชัดเจนแน่นอน
2.ห้ามใช้กฎหมายจารีตประเพณีลงโทษทางอาญาแก่บุคคล
3.ห้ามใช้กฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งลงโทษทางอาญาแก่บุคคล
4.กฎหมายอาญาไม่มีผลย้อนหลัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น