ช่องว่างของกฎหมาย หมายถึง กรณีที่ผู้ใช้กฎหมายไม่สามารถจะหาตัวบทกฎหมายปรับใช้กับดีที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ เนื่องจากผู้ยกร่างอาจจะคาดไม่ถึง เพราะเหตุการณ์ยังไม่เคยเกิดขึ้น จึงไม่ได้บัญญัติไว้ จึงจำเป็นจะต้องมีวิธีการอุดช่องว่างของกฎหมาย
การอุดช่องว่างของกฎหมายตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 4 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดวิธีการอุดช่องว่างเอาไว้ว่า
เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ให้ใช้กฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ถ้าไม่มีกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งก็ให้ใช้หลักกฎหมายทั่วไป
สรุปการอุดช่องว่างของกฎหมายตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
1.ต้องพิจารณาตัวบทกฎหมายก่อน
2.เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น
3.ถ้าไม่มีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ให้ใช้กฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง
4. ถ้าไม่มีกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งก็ให้ใช้หลักกฎหมายทั่วไป
การอุดช่องว่างของกฎหมายตามกฎหมายอาญา
เนื่องจากกฎหมายอาญาต้องตีความโดยเคร่งครัด ซึ่งหมายความว่า จะถือว่าการกระทำของบุคคลใดเป็นความผิดและลงโทษผู้กระทำผิดได้ จะต้องเป็นกฎหมายระบุไว้โดยชัดแจ้งเท่านั้น ดังนั้นกฎหมายอาญาจึงไม่มีการอุดช่องว่างกฎหมาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น