คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552

กำหนดการโครงการรับตรงคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2553

กำหนดการโครงการรับตรงคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2553

1.รับสมัครผ่านระบบ Internet (15-29 กันยายน 2552 ปิด 24.00 น. เข้าเวบ reg.tu.ac.th)
2.ชำระค่าสมัครผ่านธนาคารกรุงไทย (15-30 กันยายน 2552)
3.สอบข้อเขียน (8 พฤศจิกายน 2552) (โดยผู้มีสิทธิได้รับการตรวจเรียงความ ย่อความ จะต้องมีคะแนนในส่วน ข้อสอบกฎหมาย ภาษาอังกฤษ และความถนัดเชิงวิชาการ สูงสุด 1200 คนแรกเท่านั้น)
4.ประกาศชื่อผู้มีสิทธิสอบสัมภาษณ์ (12 มกราคม 2553)
5.สอบสัมภาษณ์ (17 มกราคม 2553)



Ent Direct 2553

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ของ แลก ของ .. หลักการง่าย ๆ ของสัญญาแลกเปลี่ยน

สัญญาแลกเปลี่ยน หรือ Barter system เป็นสัญญาที่มีวิวัฒนาการมาก่อนสัญญาซื้อขาย ที่มาของการแลกเปลี่ยนเกิดจากที่มนุษย์มีสามารถที่ไม่เท่าเทียมกัน

นายเอกอาจจะมีความสามารถในการหาปลา นายโทอาจจะมีความสามารถในการปลูกข้าว วันหนึ่ง นายเอกอยากกินข้าวโดยไม่ต้องปลูกเองก็เลยเสนอให้นายโทเอาข้าวมาให้ตนเอง แล้วตนจะเอาปลาให้เป็นการตอบแทน

พื้นฐานของการแลกเปลี่ยนจึงต้องมีการส่งมอบสิ่งของ หรือทรัพย์ที่แลกเปลี่ยนกัน มิเช่นนั้น สัญญาแลกเปลี่ยนจะไม่บริบูรณ์ ซึ่งหมายความว่า ไม่ก่อให้เกิดสิทธิ หน้าที่ ระหว่างคู่สัญญา

กรรมสิทธิ์<------------แลก------------>กรรมสิทธิ์

อย่างไรก็ตาม หากเป็นการแลกเปลี่ยนอสังหาริมทรัพย์ จะต้องทำตามแบบด้วย กล่าวคือ ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ หากไม่ทำตามแบบ สัญญาแลกเปลี่ยนนั้น จะเป็นโมฆะ หรือ ไม่มีผลบังคับใช้ระหว่างคู่สัญญา เพราะในสายตาของกฎหมายแล้ว นิติกรรมที่เป็นโมฆะเป็นนิติกรรมที่ว่างเปล่า หรือพูดง่าย ๆ ว่า นิติกรรมนั้นไม่เคยเกิดขึ้นเลย

เรามาดูความหมายของ Barter system กันสักนิดครับ

Bartering is a medium in which goods or services are directly exchanged for other goods and/or services without a common unit of exchange (without the use of money)

: Thanks to WikiPedia