คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

คลังความรู้สำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เรียงความ การจดทะเบียนสมรสโดยถูกต้องตามกฏหมายของเพศที่สาม (ธนัญญา เพรียวพานิช)

ท่านมีความเห็นอย่างไรต่อการจดทะเบียนสมรสโดยถูกต้องตามกฏหมายของเพศที่สาม_ธนัญญา

เรียงความ การจดทะเบียนสมรสของเพศที่สาม (ธีรนาถ มีเสถียร)

จดทะเบียนสมรสของเพศที่สาม_ธีรนาถ

ที่มาและหลักการของสิทธิมนุษยชน .. บทความดี ๆ จาก naksit.org

ที่มาและหลักการสิทธิมนุษยชน

เนื่องจากแนวคิดสิทธิมนุษยชนมาจากของตะวันตก ถ้ามองในแง่ฐานความคิด แนวคิดที่เชื่อว่ามนุษย์มีสิทธิโดยธรรมชาติ มีสิทธิที่ติดมาโดยกำเนิด ซึ่งผูกพันกับระบบความคิดเชิงอภิปรัชญาของต่างชาติที่พยายามอธิบายเรื่องธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ มีบางสิ่งบางอย่างที่เป็นแก่นแท้ ความมีเหตุผล มโนธรรม ตรงนี้ก็นำไปสู่การอธิบายเรื่องคุณค่าความเป็นมนุษย์ หรือที่เรียกว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นำไปสู่แนวคิดการมีอำนาจเหนือ ชีวิต ร่างกาย ซึ่งก็คือคำอธิบายเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน หรือที่แรกเริ่มใช้คำว่า "สิทธิโดยธรรมชาติของมนุษย์"

แนวคิดนี้เกิดมาจากวัฒนธรรมตะวันตก ซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมไทยไม่ค่อยเข้าใจว่าเป็นสิทธิของธรรมชาติอะไรกัน เพราะเราติดอยู่ในความคิดที่ว่าสิทธิมีโดยกฎหมาย เป็นแนวคิดแบบปฏิฐานนิยมมองอะไรเฉพาะสิ่งที่เห็นได้ จับต้องได้ เชื่อเฉพาะสิ่งที่ปรากฏต่อสายตา อะไรที่เป็นเรื่องนามธรรม เรื่องจิตนิยมจะไม่ยอมเชื่อ ซึ่งเมื่อคิดแบบนี้แล้วก็มองไม่เห็นถึงการมีอยู่ของความเป็นของมนุษย์ หรือสิทธิมนุษยชน นี่คือจุดเริ่มต้นของปัญหา ประเด็นของความคิดมาจากวัฒนธรรมตะวันตกเพิ่งปรากฏเมื่อ 200-300 ปีที่ผ่านมานี้เองไม่ได้มีมาตั้งแต่หลายพันปีที่แล้วซึ่งเป็นผลจากการต่อสู้ทางความคิดในเรื่องของความขัดแย้งทางชนชั้น เรื่องของการเติบโตของชนชั้นกลาง เรื่องของการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้เกิดกลุ่มพลังชนชั้นกลาง กลุ่มพลังทางเศรษฐกิจที่เคลื่อนไหวเรียกร้องอำนาจในสังคม แบ่งอำนาจกับกลุ่มกษัตริย์ กลุ่มเจ้า ยืนหยัดในอำนาจความชอบธรรมของตัวเองว่า "ผมมีอำนาจเท่ากับคุณนะ" เพราะฉะนั้น ประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนจึงกลายเป็นอาวุธในการต่อสู้เพื่อที่จะเรียกร้องความเท่าเทียมเชิงอำนาจกับพวกกลุ่มเจ้า กลุ่มกษัตริย์ หรือแม้กระทั่งพระ นักบวช ซึ่งสมัยก่อนสังคมตะวันตกพวกพระ นักบวชก็มีอิทธิพลทางการเมืองมาก เหล่านี้เป็นบริบทของต่างประเทศที่ทำให้เกิดแนวคิดของสิทธิมนุษยชนขึ้นมา

วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ข้อสอบเกี่ยวกับกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่น่าสนใจครับ

 ข้อสอบเกี่ยวกับกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่น่าสนใจครับ ให้ 4 ดาวเลย ^^

หลักกฎหมาย

1. บุคคลเหล่านี้จัดการแทนผู้เสียหายได้
1.1 ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล เฉพาะแต่ในความผิดซึ่งได้กระทำต่อผู้เยาว์หรือผู้ไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความดูแล
1.2  ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยาเฉพาะแต่ในความผิดอาญา ซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้

ข้อสรุปที่ (1) นายเอกได้ทำร้ายร่างกายเด็กชายโท นายตรี บิดาบุญธรรมตามกฎหมายของเด็กชายโทจึงสามารถดำเนินคดีแทนเด็กชายโทได้

ข้อสรุปที่ (2) นายเอกได้ทำร้ายร่างกายนายโทซึ่งอายุ 23 ปี จนบาดเจ็บสาหัส นอนรักษาตัวอยู่โรงพยาบาล นายตรี บิดาบุญธรรมตามกฎหมายของนายโทจึงสามารถดำเนินคดีแทนนายโทได้

ข้อใดสรุปได้ถูกต้อง
ก. ข้อสรุปที่ (1) และ (2) ถูกต้องตามหลักกฎหมาย
ข. ข้อสรุปที่ (1) เท่านั้น ถูกต้องตามหลักกฎหมาย
ค. ข้อสรุปที่ (2) เท่านั้น ถูกต้องตามหลักกฎหมาย
ง. ไม่มีข้อสรุปใดถูกต้อง

คำตอบ

ตามหลักกฎหมายข้อที่ 1.1 ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลจะจัดการแทนผู้เสียหายได้ เฉพาะแต่ในความผิดซึ่งได้กระทำต่อผู้เยาว์หรือผู้ไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความดูแล ผู้แทนโดยชอบธรรมตามกฎหมายนั้นหมายถึง (1) บิดา มารดา ตามกฎหมาย  (2) ผู้ปกครอง และ (3) ผู้รับบุตรบุญธรรม ในกรณีที่นายเอกได้ทำร้ายร่างกายเด็กชายโทซึ่งเป็นผู้เยาว์  นายตรี บิดาบุญธรรมตามกฎหมาย ซึ่งมีฐานะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กชายโท จึงสามารถดำเนินคดีแทนเด็กชายโทได้ ข้อสรุปที่ 1 จึงถูกต้อง

ตามหลักกฎหมายข้อที่ 1.2 ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา จะจัดการแทนผู้เสียหายได้ เฉพาะแต่ในความผิดอาญา ซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ บุพการีในที่นี้หมายถึง บิดามารดาตามความเป็นจริงเท่านั้น ดังนั้น นายตรี แม้จะเป็นผู้รับบุญธรรมตามกฎหมาย ก็ไม่ใช่บุพการีของนายโท จึงไม่สามารถดำเนินคดีแทนนายโทซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วได้ ข้อสรุปที่ 2 จึงไม่ถูกต้อง

ตอบข้อ ข ครับ

คุณธรรมและจริยธรรมของนักกฎหมาย

คุณธรรมและจริยธรรม_Comment

คำพิพากษาฎีกาเป็นที่มาของกฎหมายหรือไม่ (น.ส.กชพรรณ โรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย)

คำพิพากษาฎีกาเป็นที่มาของกฎหมายหรือไม_กชพรรณ_พระโขนงพิทยาลัย

การทำแท้งเสรีในมุมมองของกรรณิการ์ เรืองศักดิ์ (ราชวินิต บางเขน) (Recommended !!)

ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรต่อการทำแท้งเสรี_กรรณิการ์_ราชวินิต บางเขน

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

อำนาจอธิปไตย

อำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 3 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติว่า "อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย" พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนี้ทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล


องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของความเป็นรัฐคือ อำนาจอธิปไตย (sovereignty) เพราะเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศโดยเป็นอำนาจที่จะบังคับให้ประชาชนภายในรัฐปฏิบัติหรืองดเว้นปฏิบัติ และยังใช้ในการอ้างสิทธิเพื่อป้องกันไม่ให้กลุ่มอำนาจอื่น ๆ เข้ามามีอำนาจเหนือพื้นที่ที่รัฐ นั้น ๆ อ้างอำนาจอธิปไตยอยู่ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คืออำนาจอธิปไตยคืออำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจทางกฎหมายที่มีลักษณะเบ็ดเสร็จเด็ดขาด (final legal authority) โดยอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดนั้นจะขึ้นอยู่กับเจตนารมณ์ของประชาชนผู้ที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่แท้จริงเป็นสำคัญ


ทฤษฎีการแบ่งแยกอำนาจ ( Separation of Powers)

เริ่มต้นมีขึ้นในศตวรรษที่ 17 ซึ่งผู้ที่คิดค้นแนวความคิดดังกล่าวคือ มองเตสกิเออ Montesquieu ( 1689- 1755) โดยได้ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือที่รู้จักกันในนาม The Spirit of Law หรือเจตนารมณ์แห่งกฎหมาย ซึ่งทฤษฎีดังกล่าวได้มีผลต่อการร่างรัฐธรรมนูญของประเทศสหรัฐอเมริกาและของประเทศฝรั่งเศส เป็นอย่างมากในระยะนั้น

มองเตสกิเออ จึงได้ชื่อว่า เป็นผู้วางหลักการแบ่งแยกอำนาจการปกครอง และอาจกล่าวได้ว่า เป็นผู้ที่สนใจรูปแบบการปกครองของอังกฤษ คนแรกๆ หลังจากที่มาเยือนประเทศอังกฤษ ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดย มองเตสกิเออ ได้กล่าวชื่นชมความสำเร็จในการปกครองประเทศของอังกฤษว่า “ การที่ประเทศอังกฤษมีเสรีภาพในทางการเมืองมากที่สุด เพราะว่าอำนาจหน้าที่ของรัฐ ได้แบ่งแยกไปยังอำนาจ หรือองค์กรต่าง ๆ โดยไม่มีอำนาจหรือองค์กรใด ที่จะมีอำนาจโดยเด็ดขาดที่จะบีบบังคับประชาชนได้ เสรีภาพของประชาชนจะไม่มีเลย ถ้าอำนาจเหล่านั้นไปรวมอยู่ที่องค์ใดองค์กรหนึ่งเพียงองค์กรเดียว” โดย มองเตสกิเออ ได้กล่าวไว้ในหนังสือเล่มดังกล่าว ความตอนหนึ่งว่า

1. อำนาจนิติบัญญัติ คือ อำนาจเกี่ยวกับการวางระเบียบบังคับทั่วไปในรัฐ
2. อำนาจบริหาร คือ อำนาจในการใช้ หรือบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย
3. อำนาจตุลาการ คือ อำนาจในการพิจารณาวินิจฉัยอรรถคดี

มองเตสกิเออ ตอกย้ำว่า “ เมื่อใดอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหารรวมอยู่ที่คนคนเดียวหรือองค์กรเจ้าหน้าที่เดียวกัน อิสรภาพย่อมไม่อาจมีได้ เพราะจะเกิดความหวาดกลัว เนื่องจากกษัตริย์ หรือสภาเดียวกันอาจบัญญัติกฎหมายแบบทรราชย์.....เช่นเดียวกันอิสรภาพจะไม่มีอยู่ ถ้าอำนาจตุลาการไม่แยกออกจากอำนาจนิติบัญญัติและการบริหาร หากรวมอยู่กับนิติบัญญัติ ชีวิตและอิสรภาพของคนในบังคับจะอยู่ภายใต้การควบคุมแบบพลการ เพราะตุลาการอาจประพฤติด้วยวิธีรุนแรงและกดขี่.... ทุกสิ่งทุกอย่างจะถึงซึ่งอวสาน...”

เมื่อพิจารณาจากข้อความข้างต้นจะเห็นได้ว่า มองเตสกิเออ ไม่ต้องการให้อำนาจอยู่ที่บุคคลเพียงคนเดียว เพราะตามธรรมดา บุคคลใดก็ตามซึ่งมีอำนาจอยู่ในมือ มักจะใช้อำนาจเกินเลยเสมอ ดังนั้นเพื่อจะมิให้มีการใช้อำนาจเกินขอบเขต จึงจำต้องจัดให้มีอำนาจหนึ่งหยุดยั้งอีกอำนาจหนึ่ง ตามวิถีทางแห่งกำลัง หรือที่เรามักได้ยินคำกล่าวที่ว่า อำนาจย่อมหยุดยั้งได้ซึ่งอำนาจ หรือที่เรียกว่า Power Stop Power มองเตสกิเออ ยังได้กล่าวต่อไปว่า การแบ่งแยกอำนาจนั้นจะมีได้แต่เฉพาะในประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย เท่านั้น ส่วนในประเทศที่ปกครองในระบอบเผด็จการ หรือ สังคมนิยม หรือคอมมิวนิสต์ อำนาจทั้งสามจะถูกรวบให้เป็นอำนาจเดียว

ดังนั้น กล่าวโดยสรุป มองเตสกิเออ เห็นว่า การแบ่งแยกอำนาจ คือ การมอบอำนาจอธิปไตยเป็น 3 ลักษณะ อันประกอบด้วย รัฐบาลซึ่งทำหน้าที่ด้านการบริหาร บ้านเมือง รัฐสภาในฐานะองค์กรด้านนิติบัญญัติ ซึ่งจะต้องทำหน้าที่ด้านออกกฎหมาย และศาลยุติธรรม ในฐานะองค์กรด้านตุลาการ ที่ทำหน้าที่พิจารณาตัดสินคดีต่าง ๆ ภายใต้แห่งระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลซึ่งกันและกัน (Check and Balance ) ระหว่างทั้ง 3 องค์กร นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอำนาจตุลาการนั้น โดยลักษณะแล้ว สมควรเป็นอำนาจที่มีอิสระ และจะไปอยู่ร่วมกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้ โดยเด็ดขาด

ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก : www.pub-law.net