คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552

นิติศาสตร์ "ต้องเข้าใจศาสตร์ก่อนเรียน" ... บทความดี ๆ จาก manager.co.th

นิติศาสตร์ "ต้องเข้าใจศาสตร์ก่อนเรียน"

ขึ้นชื่อว่าคนที่เรียนกฎหมาย และอนาคตจะนำไปประกอบสัมมาอาชีพเป็นที่พึ่งพาทางกฎหมายให้แก่ประชาชน สิ่งหนึ่งที่จำเป็นมาก คือ นักกฎหมายจะต้องมีองค์ความรู้อย่างกว้างขวาง เพราะนักกฎหมายไม่สามารถกำหนดได้ว่า รูปลักษณะของคดีความต่างๆ ที่เข้ามาจะเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง ผู้ที่เรียนด้านนี้จึงต้องทั้งขยัน รักการอ่าน มีความจำที่ดี และมีทักษะการทำความเข้าใจไปพร้อมกัน

สำหรับการเรียนที่ค่อนข้างหนักการเริ่มต้นปรับทิศทางการเรียนรู้ของนักศึกษาจะต้องยากขึ้นเป็นลำดับ

“ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล” คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า เบื้องต้นจะต้องเข้าใจในสิ่งที่ตัวเองเรียนเสียก่อน สิ่งแรกคือ ต้องรู้ว่ากฎหมายคืออะไร และจำเป็นต้องเรียนวิชานิติวิทยาเพื่อทำความรู้จักกับกฎหมายก่อน ซึ่งปีแรกของการเรียนกฎหมายนั้น จะประกอบไปด้วยวิชาพื้นฐานด้านนี้ และหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องเรียนภาษาอังกฤษ เพื่อไว้ศึกษากฎหมายที่เป็นสากล

“การเตรียมตัวเพื่อเริ่มต้นการเป็นนักศึกษากฎหมายที่ดีนั้น เราต้องมาคุยกันเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจถึงศาสตร์ด้านนิติศาสตร์ก่อน เพราะเมื่อจบออกไปเขาจะต้องเป็นที่พึ่งทางกฎหมายให้กับประชาชนในอนาคต อาจารย์จึงมีหน้าที่ที่จะต้องจุดประกายความฝันการเป็นนักกฎหมายที่ดีให้กับนักศึกษา ปลูกฝังให้มีหลักธรรมะ และความเสียสละให้ผู้เรียน ขณะที่นักศึกษาก็ต้องเรียนรู้ให้มากที่สุด เพื่อให้สามารถทำความเข้าใจกับศาสตร์ของกฎหมายได้อย่างดี”

คณบดีคณะนิติศาสตร์ เปิดเผยอีกว่า ที่ผ่านมานักศึกษาคณะนิติศาสตร์มักมีปัญหาเรื่องการแบ่งเวลาไม่เป็น และยังอ่านหนังสือน้อยอยู่ ซึ่งก็มีนักศึกษาที่ถูกรีไทร์ออกไปบ้าง อย่างไรก็ตามคนส่วนใหญ่ที่เลือกเรียนนิติศาสตร์มักจะรู้ว่าตัวเองต้องเรียนอะไร อย่างไรบ้าง และคณะนิติศาสตร์มีรูปแบบการเรียนการสอนที่ค่อนข้างชัดเจน ทำให้นักศึกษาที่เข้ามาเรียนส่วนใหญ่มีปัญหาไม่มากนัก

“เรียนคณะนิติฯ ไม่ได้ยากเย็นอย่างที่คิด ถ้าเราปลูกฝังอุดมคติเรื่องความเสียสละของนักกฎหมายได้ตั้งแต่เริ่มต้น เชื่อว่าตรงนี้จะเอื้อให้นักศึกษามีวินัย และส่งผลให้นักศึกษามีความเพียรในการศึกษาเล่าเรียนที่ค่อนข้างหนักได้อย่างเสมอต้นปลาย”

-----------------------------------------------------------------------------

ขอขอบคุณ เวบไซต์ Manager Online ครับ
http://manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000067818

วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เอกเทศสัญญา (Specific Contract)

เอกเทศสัญญา (Specific Contract) คือ สัญญาที่มีชื่อเรียก และมีบทบัญญัติเกี่ยวกับลักษณะ หลักเกณฑ์ วิธีการผลในทางกฎหมายของสัญญา ตลอดจนสิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่สัญญานั้น ๆ ไว้เป็นการเป็นการเฉพาะในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

เอกเทศสัญญามี 22 ลักษณะ อันได้แก่ ซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ จ้างแรงงาน จ้างทำของ รับขน ยืม ฝากทรัพย์ ค้ำประกัน จำนอง จำนำ เก็บของในคลังสินค้า ตัวแทน นายหน้า ประนีประนอมยอมความ การพนันขันต่อ ตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด ประกันภัย หุ้นส่วน และบริษัท

วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การเลิกสัญญา (ตอนที่ 3)

ผลของการบอกเลิกสัญญา

เมื่อมีการบอกเลิกสัญญามีผลทำให้
1. คู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม โดยต่างฝ่ายต่างต้องคืนสิ่งที่ตนได้รับไปแล้วทั้งหมด หากสิ่งที่ต้องคืนเป็นเงินจะต้องคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีด้วย
2. หากการบอกเลิกสัญญาทำให้คู่กรณีอีกฝ่ายได้รับความเสียหาย คู่กรณีฝ่ายนั้นสามารถเรียกร้องค่าเสียหายนั้นได้ ส่วนจะมากน้อยเพียงไร ขึ้นอยู่กับการพิสูจน์

ข้อสังเกต

หากคู่กรณีได้เลิกสัญญาโดยที่ไม่มีสิทธิ (ไม่ว่าจะโดยข้อสัญญา หรือโดยข้อกฎหมาย) สัญญาก็จะไม่ระงับไป แต่กลับมีผลผูกพันเช่นเดิม

การเลิกสัญญา (ตอนที่ 2)

วิธีในการเลิกสัญญา

การเลิกสัญญา อาจจะกระทำได้ 3 วิธีดังต่อไปนี้

1.คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงเลิกสัญญา

หากว่าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายเห็นตรงกันว่าสัญญาที่กระทำขึ้นไม่ควรจะดำรงอยู่ต่อไป คู่สัญญาอาจตกลงเลิกสัญญาเพื่อระงับนิติสัมพันธ์ระหว่างคู่สัญญา

2.คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขอเลิกสัญญา โดยอีกฝ่ายเห็นพ้องด้วย

คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเห็นว่าไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามนิติสัมพันธ์ที่มีอยู่นั้นได้ลุล่วงได้ คู่สัญญาฝ่ายนั้นอาจทำคำเสนอขอเลิกสัญญา และหากอีกฝ่ายเห็นควรตามคำเสนอนั้น อาจจะทำคำสนองตอบรับคำเสนอนั้น

3.คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขอเลิกสัญญา โดยอีกฝ่ายไม่เห็นพ้องด้วย

การที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ต้องการผูกพันตามสัญญาที่ได้ทำไว้ โดยอีกฝ่ายไม่เห็นพ้องด้วยจะต้องปรากฏว่า
3.1.คู่สัญญาฝ่ายที่จะขอเลิกสัญญาต้องมีสิทธิในการบอกเลิกสัญญา และ
3.2.คู่สัญญาได้ใช้สิทธินั้นเพื่อบอกเลิกสัญญา

จากข้อ 3.2. นั้น สิทธิในการบอกเลิกสัญญา มีที่มาจาก 2 ประการดังต่อไปนี้
1.สัญญาได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า หากมีคู่สัญญาฝ่ายใดผิดสัญญา หรือไม่ปฏิบัติตามสัญญา คู่สัญญาอีกฝ่ายย่อมมีสิทธิที่จะเลิกสัญญาได้ อาจกล่าวได้ว่า เป็นสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยข้อสัญญา
2.สิทธิบอกเลิกสัญญาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เช่นในเรื่องสัญญาเช่าซื้อ หากผู้เช่าซื้อไม่ชำระค่างวดเป็นจำนวนสองงวดติดต่อกัน ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ เป็นต้น

การเลิกสัญญา (ตอนที่ 1)

เมื่อสัญญาเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ ซึ่งทำให้เกิดความผูกพันระหว่างคู่สัญญา โดยคู่สัญญามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญา ตามหลักทั่วไปที่กล่าวว่า สัญญาต้องเป็นสัญญา (Pacta sund servanda)


ความผูกพันระหว่างคู่สัญญาอาจสิ้นสุดลงได้โดยการเลิกสัญญา หากมีการเลิกสัญญาโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ย่อมทำให้นิติสัมพันธ์ที่เคยมีอยู่ระงับลงทันที