คู่มือเตรียมสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ สอบตรง ภาคบัณฑิต (208 หน้า)

*** ชี้แจงโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup

โครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” by TutorlawGroup สวัสดีครับทุกท่าน
ในช่วงนี้ทุกคนคงกำลังเตรียมตัวที่จะสอบข้อเขียน โครงการนิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต และเพื่อเป็นแรงผลักดันทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถสอบเข้าให้ได้ตามที่มุ่งหวังไว้ TutorlawGroup จึงจัดโครงการ “ติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ สอบตรง & ภาคบัณฑิต ปี 2557” เหมือนเช่นทุกปี
กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (สอบตรง)57 เหลือรอบเดียวคือ เรียนวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 และ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2557 เวลา 08.30 – 13.00 น. สอบวันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 องค์ประกอบวิชาและค่าน้าหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการสอบคัดเลือก (สอบข้อเขียน) รวม 100 คะแนน ดังนี้ 1. วิชาความถนัดทั่วไป (GAT รหัส 85) 30 % 2. วิชาภาษาอังกฤษ 10 % 3. วิชาเฉพาะ 60 % 3.1 วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย 10 % 3.2 วิชาความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 30 % 3.3 วิชาเรียงความ 10 % 3.4 วิชาย่อความ 10 %
ส่วนการสอบเข้าโครงการนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต ของผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้วนั้น ของทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีความแตกต่างดังนี้ กำหนดการติวเข้มสอบเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ & จุฬา (ภาคบัณฑิต)2557 รอบแรก เดือนกุมภาพันธ์ 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15เวลา 08.30 – 13.00 น. รอบที่สอง เดือนมีนาคม 57 เรียนวันเสาร์ที่ 8 และ 15 เวลา 08.30 – 13.00 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ธรรมศาสตร์ ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัคร 1 ตุลาคม 2556 – 31 มกราคม 2557 สอบวันที่ 30 มีนาคม 2557 1. ความรู้ทั่วไป 20 ข้อ 20 คะแนน 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย 15 ข้อ 30 คะแนน 3. ย่อความ 1 ข้อ 25 คะแนน 4. เรียงความ 1 ข้อ 25 คะแนน คลิ๊กเพื่อดูกำหนดการสอบนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต ธรรมศาสตร์ ปี 2556
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ข้อสอบอัตนัย (ข้อเขียน) ประมาณ 3 – 4 ข้อ และข้อสอบเรียงความ ย่อความ
คลิ๊กเพื่อดู กำหนดการสอบ ภาคบัณฑิต จุฬา ปี 2556 !!!
นิติ จุฬา ภาคบัณฑิต เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 30 เมษายน 2557 สอบวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 ความสามารถในการใช้เหตุผลทางกฎหมาย ย่อความ เรียงความ 100 คะแนน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 0859913533

คลังความรู้สำหรับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

วันพุธที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551

สำนักนายกรัฐมนตรี !?

ข้อสอบกฎหมายของนิติ มธ มีลักษณะเด่นคือ ชอบเอาความรู้ทั่วไปมาออกครับ ดังนั้น พยายามศึกษาหาความรู้กว้างๆ ครับ เพื่อให้เรารอบรู้ ไม่ใช่แต่เฉพาะความรู้กฎหมายเท่านั้น เรื่องเกี่ยวกับ สำนักนายกรัฐมนตรี ก็น่าสนใจครับ วันนี้ พี่กอล์ฟขอนำเสนอข้อมูลนี้เป็นของขวัญในวันส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ครับ ไม่แน่อาจจะออกเป็นข้อสอบก็ได้ใครจะรู้ ^^

สำนักนายกรัฐมนตรี เป็นส่วนราชการของรัฐบาลไทย มีฐานะเทียบเท่ากระทรวง ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี รับผิดชอบการบริหารราชการทั่วไป เสนอแนะนโยบายและวางแผนการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และความมั่นคง และราชการเกี่ยวกับงบประมาณ ระบบราชการ การบริหารงานบุคคล กฎหมายและการพัฒนากฎหมาย การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการ การปฏิบัติภารกิจพิเศษ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักนายกรัฐมนตรี หรือส่วนราชการที่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี หรือที่มิได้อยู่ภายในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงใดโดยเฉพาะ

 ที่มาจากเวบ http://www.opm.go.th/opmportal/index.asp?pageid=1629&parent=1629&directory=12153&pagename=content1

ส่วนรัฐวิสาหกิจในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี

บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)

หน่วยงานอิสระภายใต้การกำกับของสำนักนายกรัฐมนตรี

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

 องค์การมหาชนภายใต้การกำกับของสำนักนายกรัฐมนตรี



ส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี



ส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี

วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2551

นิติกรรมที่มีผลเป็นโมฆียะ ตอนที่ 2 ความสามารถของบุคคลในการทำนิติกรรม

บุคคลที่กฎหมายคุ้มครองความสามารถเกี่ยวกับการแสดงเจตนาทำนิติกรรมหรือเรื่องความสามารถของบุคคลในการทำนิติกรรม มีด้วยกัน 4ประการคือ

1. ผู้เยาว์


ผู้เยาว์ คือ ผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ โดยจะกระทำการใดนั้นจะต้องผ่านความยินยอม เห็นชอบจากผู้แทนโดยธรรมก่อนหรือผู้แทนโดยชอบธรรมทำแทน หากไม่กระทำตามกฎหมาย ผลที่เกิดขึ้นคือ นิติกรรมนั้นเป็น โมฆียะ


2. บุคคลวิกลจริต

บุคคลวิกลจริตคือ บุคคลที่มีจิตใจผิดปกติ หากขณะที่ทำนิติกรรมใด ๆ คนวิกลจริตนั้นมีสภาพจิตใจสมบูรณ์ นิติกรรมนั้นย่อมสมบูรณ์ แต่หากว่าได้กระทำนิติกรรมในขณะจริตวิกลและคู่สัญญาทราบว่าบุคคลนั้นเป็นคนวิกลจริต นิติกรรมนั้นมีผลเป็นโมฆียะ อย่างไรก็ตาม หากคู่สัญญาที่ร่วมทำนิติกรรม ไม่ทราบว่าในขณะที่ทำนิติกรรมนั้นบุคคลที่ร่วมทำเป็นบุคคลวิกลจริต ตามกฎหมายจะถือว่านิติกรรมนั้น สมบูรณ์


3.คนไร้ความสามารถ

คนวิกลจริตที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถเรียกว่า คนไร้ความสามารถ ซึ่งหากทำนิติกรรมจะมีผลเป็น โมฆียะ ดังนั้นผู้อนุบาล ต้องทำแทน


4. คนเสมือนไร้ความสามารถ

คนเสมือนไร้ความสามารถหมายถึง บุคคลมีกายพิการ หรือ ติดสุรายาเมา หรือ เสเพลเป็นอาจิณ ศาลสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ หากทำคนเสมือนไร้ความสามารถกระทำนิติกรรม ๆ นั้นย่อมสมบูรณ์ เว้นแต่การทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินที่สำคัญ ต้องขอความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก่อน มิเช่นนั้นจะถือว่าผลเป็นโมฆียะ

วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2551

นิติกรรมที่มีผลเป็นโมฆียะ ตอนที่ 1 การแสดงเจตนาที่มีผลเป็นโมฆียะ

นิติกรรมเป็นโมฆียะ หมายถึง นิติกรรมที่มีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้ตามกฎหมายตั้งแต่เริ่มแรกและสมบูรณ์อยู่ต่อไปจนกว่าจะถูกบอกล้างให้สิ้นผล

ถ้าบอกล้างโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วจะทำให้ นิติกรรมนั้นตกเป็นโมฆะเสียเปล่ามาแต่เริ่มแรก และทำให้ผู้เป็นคู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม

แต่ถ้านิติกรรมอันเป็นโมฆียะได้มีการให้สัตยาบันแล้ว นิติกรรมนั้นก็เป็นอันสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรกเช่นกัน นิติกรรมที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นโมฆียะนั้นเรียกว่าโมฆียกรรม

เหตุที่ทำให้นิติกรรมเป็นโมฆียะเกิดจากความสามารถบกพร่องของบุคคลและการแสดงเจตนาของบุคคลในการเข้าทำนิติกรรมอันได้แก่ นิติกรรมที่มิได้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยความสามารถของบุคคล การแสดงเจตนาสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลและทรัพย์สิน การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉล การแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่ การแสดงเจตนาของบุคคลวิกลจริต เป็นต้น


การแสดงเจตนาที่มีผลเป็นโมฆียะ



1.สำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สิน

หลักกฎหมายกำหนดว่าการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สินเป็นโมฆียะ

คำว่า คุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สิน ตามปกติไม่ได้หมายความแต่เพียงรูปร่าง เนื้อตัวแต่เพียงอย่างเดียว แต่หมายรวมถึงคุณสมบัติทั้งหลายที่มีผลกระทบถึงความเชื่อถือ กระทบถึงคุณค่าแห่งบุคคลหรือทรัพย์สินอันถือว่าคุณสมบัติเป็นสำคัญ การแสดงเจตนาได้แสดงถูกต้องแต่สำคัญผิดในคุณสมบัติ

เช่น นายดำเจตนาจ้างนายแดงมาสร้างบ้านเป็นตึก ปรากฏว่า นายแดงเป็นช่างสร้างบ้านจริง แต่สร้างได้เฉพาะบ้านไม้ หรือนายดำต้องการซื้อม้าชื่อดาวคะนอง เพราะทราบว่าวิ่งเร็วมาก และได้ซื้อม้าชื่อดาวคะนองตามที่ตั้งใจไว้ แต่ปรากฏว่าม้าดาวคะนอง ไม่เคยวิ่งแข่งขันเลย



2.การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉล การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลย่อมตกเป็นโมฆียะ

คำว่ากลฉ้อฉลคือการใช้อุบายหลอกลวงให้อีกฝ่ายหนึ่งหลงผิดหรือเข้าใจผิดจะเป็นโดยกล่าวเท็จหรือปกปิดความจริง เพื่อให้เขาหลงเชื่อเข้าทำนิติกรรมด้วย หรือพูดให้ง่ายขึ้นก็คือการหลอกลวงให้เขาสำคัญผิดแล้วเข้าทำนิติกรรมด้วย

อนึ่ง ข้อแตกต่างระหว่างสำคัญผิดกับกล ฉ้อฉลอยู่ที่ว่าถ้าผู้แสดงเจตนาวิปริตเข้าทำนิติกรรมด้วยตัวเขาเองเรียกว่า สำคัญผิดแต่ถ้ามีบุคคลมาหลอกลวงให้ผู้แสดงเจตนาสำคัญผิดเข้าทำนิติกรรมเรียกว่า กลฉ้อฉล

เช่นนายเอกหลอกลวงนายโทให้ซื้อเครื่องปั่นไฟ แต่ที่จริงเป็นเพียงไฟฉายธรรมดา นิติกรรมซื้อขายเกิดจากการหลอกลวงของนายเอก สัญญาตกเป็นโมฆียะ



3.การแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่ หลักกฎหมายกำหนดว่าการแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่เป็นโมฆียะ

การข่มขู่ที่จะทำให้การใดตกเป็นโมฆียะนั้นจะต้องเป็นการข่มขู่ที่จะทำให้เกิดภัยอันใกล้จะถึงและร้ายแรงถึงขนาดที่จะจูงใจให้ผู้ถูกข่มขู่มีมูลต้องกลัว ซึ่งถ้ามิได้มีการข่มขู่เช่นนั้น การนั้นก็คงจะมิได้กระทำขึ้นลักษณะการข่มขู่ที่จะทำให้การแสดงเจตนาเป็นโมฆียะมีได้ 2 ประการ คือ

(1) ภัยที่ข่มขู่ต้องเป็นภัยใกล้จะถึง เช่น ผู้ข่มขู่ถือมีดเข้ามาใกล้ประชิดตัว

(2) ภัยที่ข่มขู่ต้องร้ายแรงถึงขนาด เช่น เมื่อผู้ข่มขู่เข้ามาใกล้ประชิดตัวแล้วยังใช้มีดจ่อที่คอ พร้อมพูดว่า ถ้าไม่ลงลายมือชื่อในสัญญาจะเอามีดแทงคอให้ตาย เป็นเหตุให้ผู้ถูกข่มขู่กลัว จึงยอมลงลายมือชื่อในสัญญา

วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551

นิติกรรมที่มีผลเป็นโมฆะ ตอนที่ 3 การแสดงเจตนาบางกรณีในการทำนิติกรรม

การแสดงเจตนาที่มีผลเป็นโมฆะ

เจตนาซ่อนเร้น เจตนาลวง และนิติกรรมอำพราง เจตนาที่แท้จริงของบุคคลย่อมเกิดขึ้นในใจก่อน ต่อมาจึงแสดงออกซึ่งเจตนาที่แท้จริงอยู่ในใจนั้น ถ้าเจตนาที่แท้จริงในใจกับเจตนาที่แสดงออกตรงกันปัญหาก็ไม่เกิดขึ้น แต่ถ้าไม่ตรงกันจะเป็นโดยตั้งใจคือรู้ตัวในการแสดงเจตนาหรือไม่ตั้งใจคือแสดงโดยไม่รู้ตัว ปัญหาย่อมเกิดขึ้น เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว กฎหมายจึงวางหลักไว้ ดังนี้

1เจตนาซ่อนเร้น

หลักกฎหมาย การแสดงเจตนาใด แม้ในใจจริงผู้แสดงจะมิได้เจตนาให้ตนต้องผูกพันตามที่ได้แสดงออกมาก็ตาม หาเป็นมูลเหตุให้การแสดงเจตนานั้นเป็นโมฆะไม่ เว้นแต่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะได้รู้ถึงเจตนาอันซ่อนอยู่ในใจของผู้แสดงนั้น

อธิบาย ผลของการแสดงเจตนาซ่อนเร้นขึ้นอยู่กับว่าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งรู้หรือไม่ว่าคู่กรณีฝ่ายที่แสดงเจตนาออกมาให้ปรากฏนั้นต้องการผูกนิติสัมพันธ์ด้วยหรือไม่ หากคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งรู้นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ

เช่น ผู้แสดงเจตนาทำหนังสือแสดงเจตนาสละสิทธิครอบครองที่ดินมือเปล่า ยอมคืนที่ดินที่เปล่าให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง ภายหลังบุคคลที่แสดงเจตนาสละสิทธิครอบครองยอมคืนที่ดินมือเปล่า อ้างว่าไม่มีเจตนาสละการครอบครองที่ดิน ที่ทำหนังสือฉบับนั้นให้ก็เพื่อให้บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นดีใจจะได้หายวิกลจริต ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า นิติกรรมที่แสดงเจตนาสละสิทธิครอบครองนั้นสมบูรณ์ เพราะฝ่ายที่ได้รับการสละนั้นไม่รู้เรื่องด้วยว่าไม่ได้ตั้งใจคืนให้จริงๆ ดังนั้น หากฝ่ายที่ได้รับการสละรู้ว่าที่ทำหนังสือฉบับนั้นให้ก็เพื่อให้บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นดีใจจะได้หายวิกลจริต นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ

ข้อสังเกต

เจตนาที่แสดงออก คือ ผู้แสดงเจตนาทำหนังสือแสดงเจตนาสละสิทธิครอบครองที่ดินมือเปล่า

เจตนาที่แท้จริง(ที่ซ่อนเร้นไว้) คือ เพื่อให้บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นดีใจจะได้หายวิกลจริต

กฎหมายกำหนดว่า ให้ผูกพันตามเจตนาที่แสดงออก จะอ้างเจตนาภายในใจของตนไม่ได้ ส่งผลให้นิติกรรมนั้นมีผลสมบูรณ์อยู่นั่นเอง อย่างไรก็ตามหากคู่กรณีได้รู้ถึงเจตนาภายในใจ นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ


2เจตนาลวง

หลักกฎหมาย การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นโมฆะ แต่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตและต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้นมิได้

อธิบาย การแสดงเจตนาลวง คือ การที่ผู้แสดงเจตนาทั้งสองฝ่ายสมรู้กัน โดยต่างก็รู้ตัวอยู่ในขณะที่แสดงเจตนาออกมาว่า เจตนาที่ตนแสดงออกนั้นไม่ตรงกับเจตนาแท้จริงที่ตนมีอยู่ในใจ แต่เป็นการแสดงเจตนาออกมาเพื่อที่จะหลอกลวงบุคคลภายนอกอื่นๆ โดยมิได้มีเจตนาที่จะผูกพันเลย

ผลของการแสดงเจตนาลวง แบ่งได้เป็น 2กรณี คือ

1. ผลของนิติกรรมที่เกิดขึ้นกับคู่กรณี นิติกรรมเป็นโมฆะเสมอ

2. ผลของนิติกรรมที่เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอก จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้สุจริตและต้องเสียหายอันเกิดแต่การแสดงเจตนาลวงนั้นมิได้

เช่น นายเอกซื้อรถจักรยานยนต์คันใหม่ แต่กลัวนายโทผู้เป็นเจ้าหนี้จะตามมายึด จึงแกล้งลวงนายโทว่าตนขายรถจักรยานยนต์คันนี้ให้แก่นายตรีไปแล้ว แต่ในความจริง นายเอกกับนายนายตรีตกลงกันว่าไม่ได้ขาย สัญญาซื้อขายระหว่างนายเอกกับนายนายตรีจึงตกเป็นโมฆะ แต่ถ้าต่อมานายตรีร้อนเงินและขายรถจักรยานยนต์ต่อไปให้แก่นายจัตวา โดยนายจัตวาไม่ทราบเรื่องระหว่างนายเอกกับนายนายตรีมาก่อน นายเอกจะยกเจตนาลวงระหว่างนายเอกกับนายนายตรีมาอ้างกับนายจัตวาไม่ได้


3เจตนาอำพรางหรือนิติกรรมอำพราง

หลักกฎหมาย ถ้าการแสดงเจตนาลวงตามวรรคหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอื่น ให้นำบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอำพรางมาใช้บังคับ

อธิบาย นิติกรรมอำพราง คือ การที่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันทำนิติกรรมอันหนึ่งขึ้นมาให้ปรากฏ ซึ่งในเจตนาที่แท้จริงมิได้ต้องการผูกพันตามนิติกรรมนี้ แต่ทำเพื่อจะอำพรางนิติกรรมอีกอันหนึ่ง ซึ่งคู่กรณีปิดบังไว้และต้องการที่จะผูกพันต่อกันนิติกรรมอำพรางจึงเป็นเรื่องคู่กรณีแสดงเจตนาทำนิติกรรมขึ้นมาอย่างน้อย 2นิติกรรม คือมีนิติกรรมอันหนึ่งที่ประสงค์ผูกพันกันแต่ปกปิดไว้ โดยคู่กรณีได้ทำนิติกรรมอันที่สองซึ่งไม่ตรงกับเจตนาที่แท้จริงขึ้น (นิติกรรมลวงซ้อนนิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาที่แท้จริง) เพราะฉะนั้นนิติกรรมที่ปรากฏจึงเป็นนิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวง ซึ่งเป็นโมฆะ ส่วนนิติกรรมที่แท้จริงแต่ถูกปกปิดไม่ให้คนอื่นรู้ ย่อมมีผลบังคับได้

เช่น นายเอกและนายโทต้องการทำสัญญาซื้อขายรถกัน แต่กลับไปทำสัญญาเช่ารถโดยไม่มีเจตนาจะผูกพันตามสัญญาเช่ารถ สัญญาเช่ารถพิพาทจึงเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันระหว่างโจทก์และจำเลย เป็นโมฆะ และต้องผูกพันตามสัญญาซื้อขายรถ

ข้อสังเกต

1.นิติกรรมที่แสดงออก คือ นายเอกและนายโททำสัญญาเช่ารถกัน

2.นิติกรรมที่ถูกอำพราง คือ นายเอกและนายโทต้องการทำสัญญาซื้อขายรถ

กฎหมายกำหนดว่า นิติกรรมที่แสดงออก คือการลวงบุคคลภายนอกจึงตกเป็นโมฆะ ดังนั้นสัญญาเช่ารถจึงเป็นโมฆะ และให้คู่กรณีผูกพันกันตามนิติกรรมที่ถูกอำพรางคือสัญญาซื้อขายรถแทน


4.สำคัญผิดในสาระสำคัญของบุคคลหรือทรัพย์สิน

การสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม นิติกรรมนั้นตกเป็นโมฆะ

1.โดยสำคัญผิดในตัวนิติกรรม เช่น เข้าใจว่าทำสัญญาซื้อขาย แต่สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาเช่า

2.บุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรมนั้น เช่น นส.จันต้องการสมรสกับนายฝันเด่น แต่เข้าใจผิดว่าคิดว่าฝันดีเป็นฝันเด่นจึงเข้าพิธีแต่งงานด้วย

3.ในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม เช่น นายเอกต้องการซื้อที่ดินติดถนนของนายโท แต่ที่ดินดังกล่าวที่นำมาขายกลับเป็นที่ดินแปลงอื่น

วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2551

นิติกรรมที่มีผลเป็นโมฆะ ตอนที่ 2 แบบของนิติกรรม

แบบแห่งนิติกรรม หมายถึง หลักเกณฑ์หรือพิธีการอันใดอันหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ แบบแห่งนิติกรรม แบ่งได้เป็น 5 แบบคือ

1. แบบทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ กฎหมายกำหนดไว้ว่า นิติกรรมประเภทใดบ้างที่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ถ้าไม่ทำจะเป็นโมฆะ ทันทีไม่มีผลบังคับตามกฎหมายแต่อย่างใด เช่น การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ การขายฝาอสังหาริมทรัพย์ แลกเปลี่ยนอสังหาริมทรัพย์ การให้ การจำนอง เป็นต้น เป็นทรัพย์สินประเภทที่มีค่ามากรัฐต้องเข้าควบคุมการโอน การเปลี่ยนมือ เพื่อป้องกันการหลอกลวง การฉ้อโกง การข่มขู่ซึ่งอาจเกิดมีขึ้นได้

2. แบบต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ประเภทนี้กฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือ แต่บังคับให้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญ จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ จัดตั้งบริษัทจำกัด การจดทะเบียนบริษัท การจดทะเบียนสมรส การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม เป็นต้น

3. แบบต้องทำเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ นิติกรรมแบบนี้คล้ายการจดทะเบียน ต่างที่เพียงแต่ไปปรากฏตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แสดงตนโดยทำเป็นหนังสือไม่มีแบบพิมพ์หรือแบบฟอร์มให้ เช่น ทำพินัยกรรมฝ่ายเดียว ทำพินัยกรรมเอกสารลับ เป็นต้น

4. แบบต้องทำเป็นหนังสือระหว่างกันเอง คือ ไม่จำเป็นต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่รับรู้เป็นเพียงเกี่ยวข้องกันระหว่างคู่สัญญา เช่น ลูกหนี้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ การโอนหนี้สัญญาหย่าโดยความยินยอม เป็นต้น

5. แบบอื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนด กล่าวคือ เป็นแบบเฉพาะตามที่กฎหมายกำหนดเป็นเรื่องๆ ไปต่างไปจากนิติกรรม 4 แบบ ดังกล่าวข้างต้น แต่เป็นนิติกรรมที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นพิเศษ เช่น เช็ค ต้องมีรายการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ตั๋วสัญญาใช้เงินต้องมีรายการระบุไว้ มิฉะนั้นจะเป็นเช็คและตั๋วสัญญาใช้เงินที่ไม่สมบูรณ์ เป็นต้น

นิติกรรมที่มีผลเป็นโมฆะ ตอนที่ 1 วัตถุประสงค์

นิติกรรมที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นโมฆะเรียกว่า โมฆะกรรม หมายถึง

1.ความเสียเปล่า ใช้บังคับกันไม่ได้เลย

2.กฎหมายไม่ยอมรับรองการกระทำการใดๆ ทั้งสิ้น ไม่มีความผูกพันใดๆ ในทางกฎหมายเกิดขึ้น

3.ไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้เลย

นิติกรรมที่เป็นโมฆะ ได้แก่ นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัยขัดต่อความสงบ เรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน นิติกรรมไม่ถูกต้องตามแบบ การแสดงเจตนาซ่อนเร้น การแสดงเจตนาลวง และการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่ง นิติกรรม เป็นต้น


------------------------------------------------------------------------------------


ขออธิบายนิติกรรมที่เป็นโมฆะกรณีแรก ซึ่งได้แก่ วัตถุประสงค์ของนิติกรรม

วัตถุประสงค์ของนิติกรรม คือ ประโยชน์อันเป็นผลสุดท้ายที่ผู้แสดงเจตนาออกทำนิติกรรม มุ่งประสงค์ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวในสิทธิ แยกพิจารณาได้ คือ

1.การใดมีวัตถุประสงค์ของนิติกรรมต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ เช่นสัญญาว่าจ้างฆ่าคน มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย สัญญาว่าจ้างนั้นเป็นโมฆะ

2.วัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัย คือ วัตถุประสงค์ที่เป็นไปไม่ได้เมื่อคู่กรณีได้แสดงเจตนาทำนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์พ้นวิสัยมาตั้งแต่ขณะทำนิติกรรมแล้ว ก็เท่ากับว่าคู่กรณีตั้งใจมิให้นิติกรรมที่ทำนั้นบังเกิดผลตามกฎหมายเลย กฎหมายจึงไม่อาจบังคับให้ได้ เพราะคู่กรณีมิได้มีเจตนาให้เกิดผลอยู่แล้ว เช่นสัญญาว่าจ้างปลูกบ้านบนดวงอาทิตย์ เป็นนิติกรรมที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริง สัญญานั้นมีผลเป็นโมฆะเนื่องจากวัตถุประสงค์เป็นอันพ้นวิสัย

3. วัตถุประสงค์ของนิติกรรมขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ เช่นสัญญาขายอวัยวะของร่างกายมนุษย์ มีวัตถุประสงค์ของนิติกรรมขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญานั้นเป็นโมฆะ

.